Lecture

บทที่5  ออกแบบระบบเนวิเกชั่น
เนวิเกชั่นที่ดี จะต้องบรรลุวัตถุประสงค์ต่อไปนี้
1.ผู้ชมกำลังอยู่ในส่วนใดของเว็บ
2.สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างไร
3. สามารถกลับไปยังหน้าเดิมได้อย่างไร
4. หน้าเว็บเพจใดที่ได้เยี่ยมชมข้อมูลเเล้ว
องค์ประกอบของระบบเนวิเกชั่นหลัก
 ระบบเนวิเกชั่นที่สำคัญเเละพบมากที่สุด คือเนวิเกชั่นที่อยู่หน้าเดียวกับเนื้อหา ไม่ใช่เนวิเกชั่นที่อยู่ภายในเว็บ ซึ่งได้แก่    เนวิเกชั่นบาร์  เนวิเกชั่นระบบเฟรม
  pull down,  pop up menu, image map , searchbox
การออกแบบระบบเนวิเกชั่น
สร้างระบบเนวิเกชั่นหลัก
การออกแบบที่ดีควรเริ่มจากการทีโครงสร้างลำดับขั้นของข้อมูลที่เหมาะสม รายการหลักในกลุ่มข้อมูลชั้นเเรกเป็นตัวกำหนดว่าระบบเนวิเกชั่นเเบบโกบอลจะต้องมีอะไรบ้าง รายการหลักจะถูกลิงค์ให้เข้าถึงได้ทุกหน้าในเว็บเเละเป็นต้นเเบบให้กับระบบเนวิเกชั่นเเบบโลคอลเเละเเบบเฉพาะทีต่อไปทุกลำดับขั้นข้อมูลที่สูงกว่า
เนวิเกชั่นเเบบกราฟฟิก VS ตัวอักษร
จะเลือกใช้เเบบใด้ก็ได้ขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบ โดยปรกติรูปแบบกราฟิกจะดูสวยกว่าเเบบตัวอักษรอยู่เเล้ว เเต่อาจทำให้การเเสดงผลช้าลง
เนวิเกชั่นเเบบกราฟิกพร้อมคำอธิบาย
เนวิเกชั่นเเบบกราฟิกหรือไอคอนเพื่อเพิ่มความน่าสนใจของลิงค์ ควรใส่คำอธิบายควบคู่
กับกราฟฟิกด้วย
พื้นฐานของระบบเนวิเกชั่น
หลักการออกแบบเนวิเกชั่นคือการอำนวยความสะดวกตามเป้าหมายของผู้ใช้ เพื่อให้รู้ว่า
ตอนนี้กำลังอยู่ที่ไหน มีหลายสิ่งที่ทำให้รู้สถานที่ได้โดยเร็วไม่ว่าจะเป็นเเผนที่ ป้ายบอกทาง เสียง อากาศ
เพิ่มความคล่องตัวในการเคลื่อนที่
สามารถเข้าถึงได้ในทุกๆหน้า ควรจะมีลิงค์อย่างน้อยที่สุด 1 ลิงค์เพื่อกลับไปยังหน้า Home  เเละป้องกันปัญหาการเกิดหน้าทางตันที่ไม่มีลิงค์ไปสู่ส่วนใดๆ ในเว็บ


บทที่6 การออกแบบหน้าเว็บไซต์

หลักสำคัญในการออกเเบหน้าเว็บไซต์  คือ การใช้รูปภาพเเละองค์ประกอบต่างๆ ร่วมกันเพื่อสื่อความหมายเกี่ยวกับเนื้อหาหรือลักษณะสำคัญของเว็บให้น่าสนใจบนพื้นฐานของความเรียบง่ายเเละสะดวกของผู้ใช้
หลักการออกเเบบหน้าเว็บ
1.สร้างลำดับชั้นความสำคัญขององค์ประกอบจัดตำเเหน่งเเละลำดับขององค์ประกอบ เเสดงลำดับความสำคัญของข้อมูลที่ต้องการให้ผู้ใช้ได้รับ
เนื่องจากภาษาส่วนใหญ่จะอ่านจากซ้ายไปขวา เเละจากบน ลงล่าง จึงควรจัดวางสิ่งที่สำคัญ
ไว้ที่ส่วนบนหรือด้านซ้ายของหน้าอยู่เสมอ
2. สร้างรูปแบบ บุคลิกเเละสไตล์รูปแแบบ การเลือกรูปแบบเว็บที่เหมาะสมจะช่วยสร้างความเข้าใจของผู้ใช้ได้ดีขึ้นบุคลิก เว็บเเต่ละประเภทอาจมีบุคลิกลักษณะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับเนื้อหาเเละเป้าหมายในการ
นำเสนอสไตล์ คือ ลักษณะการจัดโครงสร้างของหน้า รูปแบบกราฟิก ชนิดเเละการจัดตัวอักษรชุดสีที่ใช้ รวมถึงองค์ประกอบอื่นๆ ซึ่งไม่ควรสร้างตามใจชอบ
3.สร้างความสม่ำเสมอตลอดทั่วทั้งไซต์ความสม่ำเสมอของโครงสร้างเว็บเเละระบบเนวิเกชั่น ทำให้รู้สึกคุ้นเคยเเละสามารถคาดการณ์ลักษณะของเว็บได้ล่วงหน้า ทางด้านเทคนิดสามารถใช้ css กำหนดได้เพื่อให้เป็น
มารตฐานเดียวกัน
4.จัดวางองค์ประกอบที่สำคัญไว้ในส่วนบนของหน้าเสมอควรประกอบด้วย
1.ชื่อของเว็บ เพื่อให้ผู้ใช้ได้รู้ทันทีว่ากำลังอยู่ในเว็บอะไร
2.ชื่อหัวเรื่อง
3.สิ่งสำคัญที่เราต้องการโปรโมตเว็บ
4.ระบบเนวิเกชั่น
5.สร้างจุดสนใจด้วยความเเตกต่างการจัดองค์ประกอบให้ภาพรวมของหน้ามีความเเตกต่างเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำสายตาผู้อ่านไปยังบริเวณต่างๆ โดยการใช้สีที่ตัดกัน
6. จัดเเต่งหน้าเว็บให้เป็นระเบียบ เนื้อหาในหน้าเว็บจำเป็นต้องอยู่ในรูปแบบที่ดูง่ายเเยกเป็นสัดส่วน เเละดูไม่เเน่นจนเกินไป
7.ใช้กราฟฟิกอย่างเหมาะสม ควรใช้กราฟิกที่เป็นไอคอน ปุ่ม ลายเส้น เเละสิ่งอื่นๆ ตามความเหมาะสมเเละไม่มากเกินไป
เพื่อหลีกเลี่ยงโครงสร้างที่หยุ่งเหยิงเเละไม่เป็นระเบียบ ส่วนตัวอักษรขนาดใหญ่ด้วยคำสั่ง h1
เเละ h2 ควรใช้ในปริมาณน้อยๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์สูงสุด


บทที่9 ออกแบบกราฟฟิกสำหรับเว็บไซต์

กราฟฟิกเป็นองค์ประกอบสำคัญของเว็บเพจ ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นมักจะเกิดขึ้นกับการสร้างกราฟฟิก คือการใช้ลักษณะรูปแบบกราฟฟิกที่ไม่เหมาะสมกับลักษณะของรูป
กราฟฟิกรูปแบบหลัก 2 ประเภท
        1. GIF ย่อมาจาก Graphic Interchange Format
            - ได้รับความนิยมในยุดแรก
            - มีข้อมูลสีขนาด 8 บิต ทำให้มีสีมากสุด 256 สี
            - การบีบอัดข้อมูลตามแนวของพิกเซล เหมาะสำหรับกราฟฟิกที่
              ประกอบด้วย สีพื้น
         2. JPG ย่อมาจาก Joint Photographic Experts Group
            - มีข้อมูลสีขนาด 24 บิต แสดงสีได้ถึง 16.7 ล้านสี
            - ใช้ระบบการบีบอัดที่มีลักษณะที่สูญเสีย(lossy)
            - ควรนำไปใช้กับรูปถ่ายหรือกราฟฟิกที่มีการไล่ระดับสีอย่างละเอียด
         3. PNG ย่อมาจาก Portable Network Graphic
            - สามารถสนับสนุนสีได้ทั้ง 8 บิต 16 บิต และ 24 บิต
            - การบีบอัดแบบ Deflate ที่ไม่ทำให้เกิดการสูญเสีย(lossless)
            - ควบคุมแกมม่า (Gamma) และความโปร่งใส(Transparency) ในตัวเอง
ระบบการวัดขนาดของรูปภาพ
            - ใช้หน่วยวัดเป็น พิกเซล
            - ความละเอียดของภาพควรใช้ หน่วย pixle per inch (ppi)
            - การใช้งานจะนำหน่วย dot per inch (dpi) จะเหมาะสมกับเครื่องพริ้นท์
            - ควรมีความละเอียดแค่ 72 ppt